หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามเรื่องเครื่องเสียงรถครับ  (อ่าน 19092 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
minikung
นักแข่งมือสมัครเล่น
***

จิตพิสัย 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 103



เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2013, 08:38:41 pm »

ตอนนี้ผมใส่ ฟร้อน JVC KD-R445 ครับ กับลำโพงหน้า4นิ้วเดิมติดรถ

เพิ่งจะได้ลำโพงหลัง 6x9 PIONEER TS-A6964S มา2ตัวครับยังไม่ได้ใส่เพราะรถทำสีอยู่

และก็กะจะใส่ตู้ Zulex12"(มีแอมป์ในตัว) ไว้หลังรถจะโอเคมั้ยครับ

อยากจะถามว่า ฟร้อนมันขับลำโพง Pioneer ไหวมั้ยครับ เห็นหน้ากล่องลำโพงมันเขียน Max400watt
แล้วถ้าไม่ไหวนี่ผมจะต้องติดอะไรยังไงบ้าง เท่าที่ดูมาคร่าวๆ จะต้องติด ปรี กับ พาวเวอร์แอมป์(ต้องซื้อกี่watt ซื้อเกินWattลำโพงมาใช้เป็นอ่ะไรหรือป่าวครับ เห็นเค้าเขียนขับ1000Watt x2 x4อะไรอย่างงี้อ่ะครับ) แล้วเห็นเค้ามีฟิว์เป็นกล่องๆนี่เราต้องติดไว้ช่วงไหนและจำเป็นต้องติดไหมครับ

รบกวนขอคำแนะนำด้วยครับ แนะนำยี่ห้อให้ด้วยยิ่งดีเลยครับ ราคาขอเบาๆเพราะหมดค่าทำสีรถไปเกลี้ยงเลย T T

ไม่มีความรู้ด้านไฟกับเครื่องเสียงเลยยยย
บันทึกการเข้า

v_So ^-^
น้องใหม่
*

จิตพิสัย 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 32


ขับไปเรื่อย...


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2013, 09:07:53 pm »

kd-r445 ใช้ขับ สี่นิ้ว+6x9 ได้สบายครับ เพิ่ม zulex 12" ได้เลย ครับ ลากสายแบต+มาเส้นนึง กะสายรีโมทหลัง jvcมา ส่วน- ลงตัวถัง

ไม่ต้องเพิ่มปรี เพาวเวอ

เสียงดีกว่าเดิมแน่ มีตึ๊บๆ  ตามงบครับ



 
บันทึกการเข้า


ธ.ไทยพาณิช สาขาโลตัสพิษณุโลก เลขบัญชี 9392086588  วิทยา
สบายใจ..
janejadhai
นักแข่งมือสมัครเล่น
***

จิตพิสัย 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 159


รับซื้อรถยนต์4ล้อขึ้นไป ทุกชนิด 081-3834533

janejadhai2door@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2013, 12:17:56 am »

ขออณุญาติเจ้าของกระทู้ ออกความเห็น และให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเครื่องเสียง( คิดว่าน่าจะเป็นอุปกรณ์แต่งรถที่ดูดเงินมากที่สุดในบรรดาของแต่งรถสุดที่รักสำหรับใครบางคนนะ) ที่ผมพอจะมีนะครับ
  พูดถึงการติดตั้งเครื่องเสียง ถ้าจะร่ายจริงๆมียาวแน่ๆครับ นี่ขนาดไม่ร่ายจริงๆ ผมคิดว่าก็ยังจะยาวเลยนะเนี่ย ทนๆอ่านหน่อยแล้วกันนะครับ อิๆ
จากประสพการ(อันน้อยนิด ของผม) พอดีกับผมทำงานศูนย์โตโยต้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2538 มาจนถึงปัจจุบัน (ทีแรกเป็นหัวหน้าช่างและครูฝึกช่างเทคนิค แต่ตอนนี้เป็นพนักงานประเมิณของชัวร์) ได้เห็นทั้งลูกค้าที่มาซ่อม ที่มาขายรถเก่า หรือที่มาออกรถใหม่ จะมือสองหรือป้ายแดง อีกทั้งเพื่อนที่ทำงานในศูนย์ด้วยกัน อยากที่จะติดเครื่องเสียงบ้าง หรือนำไปติดกับร้านที่รู้จักหรือไม่รู้จักบ้าง สุดท้ายซึ่งเป็นส่วนใหญ่มักจะไม่จบ ส่วนที่จบก็จะต้องใช้งบค่อนข้างเยอะ ที่กล่าวมาก็รวมถึงตัวผมด้วย หึๆ สุดท้ายผมก็มาเข้าใจด้วยตนเอง(เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป อาจจะต้องใช้วิจรณญาณ ในการรับฟัง เด็กที่อายุต่ำกว่า13 ... จะออกนอกเรื่องลงทะเลไปแร๊ะ) เข้าเรื่องดีกว่า....
 หลักของความต้องการ (สำหรับผม) ที่อยากจะติดเครื่องเสียงเพิ่ม จึงเป็นดังนี้
 1.ให้นึกถึงความต้องการก่อนว่า ต้องการงานออกมาในรูปแบบหรือลักษณะไหน เช่น งานซาวด์ แผงสวย แสงสีอรังการอยากติดเพื่อไว้โชว์ หรือบอกศักย???าพว่าเงินเรามีเงินเหลือบานตะไทขนาดไหน หรือจะเอาแค่เสียงตึ้บ แต่ไม่เน้นแผงซาวด์ที่บ่งบอกถึงสำนักที่ติดตั้งให้
   แต่ ทว่า ไม่ว่าจะต้องการเช่นไหนก็ตาม ถ้ามันจบได้แบบที่เราพอใจ ก็ถือว่าโอเครเป็นใช้ได้
 2. งบที่ตั้งไว้ ข้อนี้สำหรับผมถือว่าน่าจะสำคัญสุด เพราะน้อยมากที่จะเห็นว่าเจ้าของจะได้เสียงที่พอใจแบบสุดติ่งในงบที่ไม่ถึงที่ตนตั้งไว้ (แต่ ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะสำหรับผมก็เกือบจะเข้าข่าย  แต่มันต้องทำเองเนี่ยดิ่) เพราะทีแรก ผมเองก็แทบไม่เป็นหรือไม่รู้เรื่องในระบบเครื่องเสียงเลยเช่นกัน แต่สุดท้ายในปัจจุบันก็จบเองได้แบบทำเองทั้งคัน แลกกับการลองผิดลองถูกไปหลายครั้ง แต่อย่าลืมว่าผมเป็นพนักงานรับซื้อรถเก่า เลยถือว่าโชคดีไป อาศัยถอดอุปกรณ์กับรถที่นำเข้ามาขายนั่นแหล่ะ 555 มิใช่ขโมยน๊าาา รึใช่หว่า..!!!??? (แต่ก็ต้องมียัดใต้โ็ต๊ะไปกันบ้าง) ของที่มีในระบบของผมจึงเป็นมือสองซะส่วนใหญ่
   ทุกวันนี้สำหรับรถบางคันที่ไปจ้างร้านทำโดยหมดงบกับระบบเครื่องเสียงหลักหมื่นกลางถึงสองหมื่นอัพ(เคยท้าเปิดแข่งกัน ซึ่งจริงๆผมควรจะกลัวตนเองหน้าแตก แต่ที่ไม่กลัวเพราะคิดว่ายังไงก็คงสู้เขาไม่ได้อยู่แล้วเพราะเรามันแค่มือสมัครเล่นทำเองแบบปูๆปลา แต่เอาวะยังไงเราก็ต้องซื้อกินอยู่แล้วไอ้น้ำฟองๆเนี่ย ผลสุดท้ายกับหลายๆคนและหลายๆคัน ผมก็กินได้กินเบียร์ฟรีเขามาแล้ว นี๊..!!! คุยซะเลย55 แต่ที่สู้ไม่ได้แบบรู้ตัวเองตั้งแต่หัวกระได คือเรื่องแผงซาวด์สวยๆเนี่ยแหล่ะ   
   สรุป งบ คือเรื่องสำคัญ ไม่อยากหมดเยอะหรือให้บานปลาย ก็แค่ให้ศึกษาเบื้องต้นให้พอรู้เรื่องในระบบเครื่องเสียงที่จะทำกับรถตนเองบ้างเล็กน้อยก็ยังดี
 3. ต้องการให้ดังมากแค่ไหนถึงจะเป็นที่พอใจของตน (ข้อนี้ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขข้อ2 ด้วย) เน้นฟังเพลงตอนไหน ตอนขับรถ ตอนเมา ฯลฯ และชอบฟังเพลงแนวไหนเป็นหลัก เช่น ลูกทุ่ง หรือแดนซ์
 4. อุปกรณ์ที่เลือกใช้ (ข้อนี้ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขข้อ2 ด้วยเช่นกัน) ต้องเน้นของแบนด์เนมมั้ย ในระบบจะใช้อะไรบ้างที่จำเป็น
  ทั้ง4ข้อที่กล่าวมาจึงเป็นโจทย์ที่ผมนำมาประมาล  อ้อ..!! อีกอย่าง เหตุที่มันไม่ค่อยจะจบกันง่ายๆอีกประการ คือ ถ้าไปเปิดเทียบกับคนอื่นแล้วเสียงเขาดีกว่า ยิ่งถ้ารู้ว่าเขาใช้งบน้อยกว่าเราด้วย ปวดใจ เจ็บแปลบ อิจฉา อยากได้ ฯลฯ สรุป เอาที่เราพอใจเป็นใช้ได้(สำหรับผม)

  กลับมาเข้าเรื่อง คำถามของเจ้าของกระทู้อีกครั้งนะครับ

 " ตอนนี้ผมใส่ ฟร้อน JVC KD-R445 ครับ กับลำโพงหน้า4นิ้วเดิมติดรถ

เพิ่งจะได้ลำโพงหลัง 6x9 PIONEER TS-A6964S มา2ตัวครับยังไม่ได้ใส่เพราะรถทำสีอยู่

และก็กะจะใส่ตู้ Zulex12"(มีแอมป์ในตัว) ไว้หลังรถจะโอเคมั้ยครับ

อยากจะถามว่า ฟร้อนมันขับลำโพง Pioneer ไหวมั้ยครับ เห็นหน้ากล่องลำโพงมันเขียน Max400watt
แล้วถ้าไม่ไหวนี่ผมจะต้องติดอะไรยังไงบ้าง เท่าที่ดูมาคร่าวๆ จะต้องติด ปรี กับ พาวเวอร์แอมป์(ต้องซื้อกี่watt ซื้อเกินWattลำโพงมาใช้เป็นอ่ะไรหรือป่าวครับ เห็นเค้าเขียนขับ1000Watt x2 x4อะไรอย่างงี้อ่ะครับ) แล้วเห็นเค้ามีฟิว์เป็นกล่องๆนี่เราต้องติดไว้ช่วงไหนและจำเป็นต้องติดไหมครับ
"

ก็ให้กลับไปดูในข้อ2. ประกอบการตัดสินใจด้วยครับ
 - ฟร้อน JVC KD-R445 ขับลำโพงเดิมที่ท่านมีไหวแน่นอน ถึงจะแค่เปลี่ยนคู่หลังเป็น 6x9 PIONEER TS-A6964S ก็ตาม ต่อแบบ ไฮพาวเวอร์หรือแบบฟูลเรงก์สบายๆ (ถ้าหากยังไม่ต้องการเพิ่มงบในส่วนของเพาเวอร์แอมป์ หรือ อุปกรณ์ปรับเสียงจำพวกปรีหรือครอสส)
 - และก็กะจะใส่ตู้ Zulex12"(มีแอมป์ในตัว) ไว้หลังรถจะโอเคมั้ยครับ ขอตอบว่า ตึ้บขึ้นมา(อีกระดับหนึ่ง) แน่นอน อยู่ที่การวางหรือเดินสายไฟ การหันตู้หรือหน้าดอกและการจูนความถี่ด้วย

สุดท้ายก็ขอสรุปสั้นๆ(แบบความคิดผมเอง อีกแย๊ว) ถ้าท่านฟังแล้วพอใจและเพียงพอ ก็ถือว่า งานจบสวยครับผม

เด๋วถ้าผมว่าง ผมก็อาจจะอณุญาติพี่ๆและสมาชิกทุกท่าน มาแชร์ข้อมูล ที่ผมพอจะมี(ส่วนมากก็จะหาจากเว็บต่างๆ) แล้วนำมาเรียบเรียงให้ตนเองเข้าใจ เพิ่มอีกกับกระทู้นี้ในวันหน้านะครับ ส่วนด้านล่างต่อจากนี้ ก็เป็นข้อมูลที่พอจะจำได้ หรือมีอยู่คร่าวๆ กับอุปกรณ์ที่ทำในระบบรถตนเอง ชอบคุณครับ

ชื่อเรียกและหน้าที่ของปุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในพาวเวอร์และอุปกรณ์เครื่องเสียงรถยนต์ทั่วๆไป

1. Gain / sensitivity มีไว้ปรับความไวสัญญานขาเข้าและขยายสัญญาณของอุปกรณ์ที่อยู่ก่อนหน้าเพื่อให้ระดับความแรงของสัญญาณที่ส่งเข้ามานั้นทำงานสอดคล้องเหมาะสมกัน หากปรับเยอะเสียงจะดังขึ้นก็จริงแต่จะเพี้ยน เสียงแหลมจะจัดเกินจะออกบี้ๆ  วิธีปรับให้ถูกต้องให้ศึกษาจากการทำ Level Matching ในหัวข้อถัดไป
2. HPF (High pass filter) มีไว้ปรับให้แอมป์ขับแต่ความถี่เสียงกลาง-แหลม (ยอมให้ค่าที่สูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ผ่านได้ ) ต้องกาคุณ???าพแนะนำลองตั้งประมาณ 80 Hz ดูก่อน
3. LPF (Low pass filter) (sedona SA-1200D ระบุไว้ที่ 35 to 250Hz-24dB) มีไว้ปรับให้แอมป์ขับแต่เสียงต่ำ (ยอมให้ความถี่ที่ต่ำกว่าจนถึงค่าที่ตั้งไว้ผ่านไปสู้ลำโพง ส่วนความถี่ที่สูงกว่าจะถูกกรองทิ้งไป)
4. Sub Sonic Filter (sedona SA-1200D ระบุไว้ที่ 10Hz to 50Hz-24dB) ทำหน้าที่เป็นตัวกรองหรือตัดความถี่ที่ไม่ต้องการออก (ยอมให้ความถี่ที่สูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ผ่านได้ แม้หน้าที่จะดูสวนทางกับ LPF แต่ก็มีไว้ใช้ปรับเพื่อให้ทำงานสัมพันธ์กัน) จะตัดความถี่ต่ำที่หูมนุษย์ไม่ได้ยินประมาณต่ำกว่า 20-30 เฮิรตซ์ลงไป ปรับเพื่อซับเสียงประเ???ทเสียงต่ำลึกๆ เช่นเสียงคลางของซับ ส่วนวิธีการการใช้งานจะหมุนตามหรือทวนเข็มนาฬิกาขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจรของแอมป์ว่ามีไว้ตัดหรือเพิ่มความดัง) สังเกตุจากตัวอักษรหรือตัวเลขที่กำหนดไว้ที่ปุ่ม ในตำแหน่งหมุนทวนเข็มนาฬิกาสุดถ้ามีคำว่า Off หรือ Closs หรือเลข 0 นั่นคือการปิดหรือตัดการทำงาน แต่ถ้าเป็นตัวเลขและมีหน่วยเป็น(Hz) จะเป็นการกำหนดให้เริ่มกรองหรือตัดความถี่ที่ค่าตามตัวเลขที่กำหนดไว้ ในแบบหลังนี้ถ้าต้องการจะปิดการใช้งานก็ให้หมุนไปด้านขวาสุด(ค่าสูงสุด)
***  แนะนำ : หากลองตัด(ปิด) ความถี่ที่ต่ำกว่า 50Hz ออกไปจะส่งผลให้พาวเวอร์แอมป์ทำงานได้เต็มประสิทธิ???าพมากขึ้น ส่วนข้อดีในการปรับคือจะลดเสียงบวมๆของซับลงไปได้มากในกรณีคุณ???าพดอกซับไม่ดีหรือตู้ไม่ได้ปริมาตรหรือแอมป์ขับไม่ไหว แต่ถ้าทุกอย่างลงตัวดีอยู่แล้วก็ไม่ควรใช้เพราะจะทำให้น้ำหนักของเสียงทุ้มนั้นลึกลงเกินไปยิ่งกับลำโพงที่ต่อกันเพื่อโหลดให้ได้ 1 โอห์ม จะทำให้ค่าแดมปิ้งแฟคเตอร์ของเพาเวอร์แอมป์ที่เป็นส่วนหนึ่งในการหยุดการสั่นค้างของลำโพงทำงานด้อยลงไปด้วย
5. X-over (On-Off) ทำหน้าที่เหมือน Crossover นั่นเอง (Sedona-SB495 4แชลแนล ระบุไว้ที่ 50 - 500Hz) มีหน้าที่ตัดย่านความถี่ของเสียงให้เที่ยงตรงที่สุด ใช้ปรับกรองสัญญาณความถี่ในย่านที่ตั้งไว้ให้แรงขึ้น (ยอมให้ความถี่ที่ต่ำกว่าถึงค่าที่ตั้งไว้ผ่านได้)  จริงแล้ว X-over มีความสำคัญกว่า Pre-Amp มาก เพราะถ้าเครื่องเล่นที่ใช้ไม่มีจุดตัดสัญญาณในตัว ย่านความถี่ของเสียงจะออกมาปะปนไม่ได้ถูกแยกอย่างถูกต้อง ถ้าต้องการให้นุ่มลองตัดที่ประมาณ 80 ลงมา ถ้าต้องการเสียงแหลมก็ลองตัดไว้ที่ประมาณ 100 - 125 Hz เป็นต้น สังเกตที่ X-over จะมีตัวเลขกำหนดว่าต้องการจะตัดให้สัญญาณแรงขึ้นในระดับใดลงมา
*** ส่วนใหญ่ถ้าต้องการให้ออกกลางแหลมมักตัดประมาณ 70-120 แล้วแต่ขนาดและชนิดลำโพงที่ใช้ ยิ่งตัดสูงเสียงร้องจะยิ่งชัดแต่ก็ต้องแลกกับเสียงหนักแน่นที่หายไป ถ้าตัดต่ำเกินเสียงจะจมไม่ลอย กลางจะออกไม่ใส ถ้าต้องการให้ bass upfront ควรตัดคู่หน้าให้ต่ำเพื่อเอาเสียงเบสจากกลางแหลมคู่หน้ามามาหลอกหูว่าเบสอยู่ด้านหน้า จากนั้นก็ปรับซับตามเพื่อให้เบสมีน้ำหนักขึ้น
6. Phase (0-180 องศา) ใช้เลือกย่านความถี่เพื่อปรับเฟสของลำโพง (ทิศของเสียงที่อัด) ให้เหมาะสม มักใช้เวลาลิ้งค์กับคันอื่นที่ติดลำโพงคนละเฟสกับเรา หากจะลองปรับถ้าฟังเป็นก็ไม่ยากเพราะจะสามารถจับได้ทันทีว่าสัญญาณที่ออกจากลำโพงนั้นกลับเฟสหรือไม่ ฟังง่ายๆคือเสียงทุ้มถ้ากลับเฟสระหว่างซ้ายและขวาเสียงเบสจะแห้งหายสาเหตุจากเฟสถูกคลื่นหักล้างกัน แต่ถ้าถูกเฟส(อินเฟส)เบสก็จะดังชัดเจน ที่เห็นเกิดบ่อยๆคือต่อสายลำโพงสลับขั้ว ถ้าสับสวิทช์สลับเฟสก็เหมือนกับสลับสายลำโพง(ถ้าสามารถปรับเฟสไล่ระดับหาทิศทางของเสียงตั้งแต่จุดเริ่มไปถึงจุดที่ตกตั้งแต่ 0ถึง180เลยจะเยี่ยมมาก)
7. BASS boost (Frequency 30Hz-80Hz) ใช้สำหรับเลือก Boost(ปรับเพิ่ม)ย่านความถี่ที่ต้องการเพื่อเป็นการชดเชยส???าพทางอคูสติกหรือแก้ไขทางเฟสที่อาจล้ำเกินไป อยากได้เบสหนักก็หมุนปรับไปทางตัวเลขมาก
8. BASS boost (Sedona SA-1200D มีค่าตั้งแต่ 0-18dB) (Sedona4แชลแนล ค่า 0 - 6dB) ทำงานสัมพันธ์กันกับ Bass Boost Frequency เพื่อใช้ลด-เพิ่มระดับความดังของความถี่ที่ตั้งไว้ ณ ความถี่หนึ่ง เช่นตั้ง BASS boost Frequencyไว้ที่ 45Hz (เฮิรตซ์) เมื่อเสียงมีความถี่หรือระดับสัญญาณในระดับ 45Hz ก็จะบู๊ทช่วยให้เสียงทุ้มเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มได้กี่ dB นั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
*** แนะนำ : ตั้งไว้ที่ 0dB ก่อน หากจำเป็นให้ปรับพอประมาณแต่ไม่ควรเกิน 6 dB ไม่ควรปรับเพิ่มมากไปเพราะจะทำให้เสียงเบลอ
9. BOOST BASS (เบสช่วย) ใช้ปรับเพื่อให้บู๊ทความถี่ที่ตั้งไว้ใน X-over เพื่อให้ได้ลูกเบสกว้างและลอยไกลๆ ระวังอย่าปรับให้มากเพราะเสียงเบสจะรัวไม่เป็นลูก หากชอบหนักๆก็ให้ปรับ LPF เพิ่มขึ้นอีกหน่อยให้ได้ความถี่ซัก 80HZ-100HZ โดยประมาณหากสูงมากเสียงเบสก็จะแข็งเกินไป
10. BRIDGE MONO หมายถึงการให้ต่อช่องสัญญาณเอาท์พุทของลำโพงจาก 2 แชนแนลพ่วงเป็น 1 แชนแนลเพื่อให้พาวเวอร์ปล่อยกำลังขับหรือวัตต์เพิ่มขึ้น(พาวเวอร์แอมป์ขับซับแบบ 2 Ch ถ้าต่อพ่วงลำโพงเพื่อโหลดค่าโอห์มให้ลงที่ 1 โอห์ม พาวเวอร์แอมป์ก็เห็นต่ำสุดแค่ 2 โอห์มเท่านั้น) ส่านพาวเวอร์แอมป์คลาสดีที่ระบุไว้ว่าเป็น MONO (หมายถึงไม่มีการแยกสัญญาณเสียงซ้ายขวาอิสระจากกัน) แต่ที่เห็นมีสายไฟของชุดลำโพงออก 2ชุด (++--) ถึงแม้จะต่อออกครบ 2ชุด มันก็ออกเป็นชุดเดียว เพราะมันเชื่อมต่อกัน ที่ทำไว้เพื่อความสะดวกในการต่อสายลำโพงก็เท่านั้น
11.ปุ่มปรับ Freq.ที่ปรี มีหน้าที่ตั้งความถี่ไว้แล้วตัว Gain Volume จะทำการเร่งในจุดนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การทำ เลเวล-แมทชิ่ง (Level Matching) คือการทำเพื่อให้ได้ค่า (S/N) Signal to Noise Ratio สูงสุด มีหน่วยเป็น dB
   
 การทำ เลเวล-แมทชิ่ง เป็นเพียงการปรับเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องเสียงในระบบเกิดการ Clip หรือเกิดความเพี้ยนขึ้นมาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการปรับเพื่อให้ได้เสียงดีที่สุดแต่อย่างใด เป็นเพียงการเอาใจใส่ในเรื่องของการปรับระดับโวลท์เตทของสัญญาณขาเข้า(อินพุท) และขาออก(เอ้าท์พุท) ของอุปกรณ์แต่ละชิ้นให้เหมาะสมเพื่อทำให้ระดับของเสียงเพลงมากกว่าระดับของเสียงสัญาณรบกวน ซึ่งในบทความนี้ในการทดสอบจะกำหนดโดยการใช้หู กับแผ่นเสียงทดสอบในเครื่องเล่น ซึ่งมีขั้นตอนปฎิบัติดังต่อไปนี้
1. ให้ศึกษาข้อมูลรายละเอียดของอุปกรณ์ที่มีใช้ในระบบทุกชิ้นของตนให้เข้าใจเสียก่อน สามารถหาดูได้จากคู่มือที่มาพร้อมกับอุปกรณ์นั่นเอง
2. ให้ทำการเช็คเฟสของลำโพงทั้งหมดก่อน แล้วปรับความดัง (Volume) ของเครื่องเล่น (Head Unit) ไปที่จุดต่ำสุด และให้ปรับฟังค์ชั่นปรับแต่งเสียง (EQ) ทุกอย่างของ Fonte เช่น Bass, Treble, Balance และ Fader อยู่ในตำแหน่ง Flat ซึ่งหมายถึงย่านเสียงที่ไม่ได้รับการปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น เพื่อให้ได้เสียงที่เป็นธรรมชาติ (ถ้าที่ Fonte มี HPF ให้ปรับให้ปรับเป็น off ด้วย)
3. ถ้ามีปรีแอมป์ในระบบให้ปรับปุ่มควบคุมความไวอินพุทไว้ที่ระดับต่ำสุด(Min) จากนั้นให้ปรับปุ่มควบคุมความดังปรีแอมป์ให้อยู่ที่จุดต่ำสุดด้วย
4. ถ้ามีอีควอไลเซอร์ในระบบให้ปรับปุ่มควบคุมความไวอินพุทให้อยู่ที่ระดับต่ำสุด(Min) และตั้งปุ่มลด-เพิ่มความถี่ในทุกๆย่านให้อยู่ในระดับสูงสุด(Max)
5. ถ้ามีอีเล็คโทรนิคครอสโอเวอร์อยู่ในระบบให้ปรับปุ่มควบคุมความไวอินพุทอยู่ที่ระดับต่ำสุด(Min)
6. ให้ปรับระดับสัญญาณขาออก(Output) ของอุปกรณ์ในข้อ 4,5 (ถ้ามี)ไว้ที่ระดับ 3 ใน 4 ของระดับสูงสุด (ประมาณ75% ถ้าประมาณไม่ถูกให้ดูสูตรจากข้อ8)
7. ให้ปรับปุ่มควบคุมความไวอินพุทของเพาเวอร์แอมป์ไว้ที่ระดับต่ำสุด(Min)
*** ขั้นตอนที่ 1-7 ให้ทำในขณะที่ระบบเสียงปิดอยู่
8. ให้เริ่มเปิดระบบเสียง แนะนำให้เลือกเล่นเพลงที่คุ้นเคยหรือใช้แผ่นซีดีในการแข่งขันก็ได้ โดยเพิ่มระดับความดังที่ Fonte ไว้ที่ระดับ 3 ใน 4 ประมาณ 75% ของความดังสูงสุดหรือหาคำนวนได้จากสูตร ค่าของระดับความดังสูงสุด คูณด้วย 0.8 ก็จะได้ค่าไว้เพื่อปรับออกมา แล้วจึงปรับให้เท่าหรือต่ำกว่าค่าที่ได้นิดหน่อย เช่นความดังสูงสุดของวอลลุ่มอยู่ที่ 62 ก็ให้ปรับไว้ที่ 47 (ไม่ต้องกังวลเรื่องไม่ได้ยินเสียงเพลง) เปิดวอร์มอุปกรณ์ทิ้งไว้สักประมาณ 15 นาทีเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมของระบบแล้วค่อยดำเนินการในขั้นตอนต่อไป.....
9. ให้เริ่มทำการปรับปุ่มควบคุมโวลท์เตจ???าคอินพุทของอุปกรณ์ที่มีอยู่ในระบบตัวถัดไป เช่น ปรีแอมป์,ครอส, ถ้าอุปกรณ์ตัวใดไม่มีก็ข้ามไปที่อุปกรณ์ตัวที่อยู่ถัดไปให้อยู่ตรงตำแหน่งกึ่งกลาง และปรับ Gain (Output Level)ระดับสัญญาณขาออกของอุปกรณ์ทุกตัวไปที่ตำแหน่งกึ่งกลางด้วยเช่นกัน
10. ถ้ามีปรีแอมป์ ให้ปรับระดับความดังเสียงไว้ที่ 3 ใน 4 (ประมาณ75%) ของความดังสูงสุดก่อน แล้วค่อยๆปรับปุ่มความไวอินพุทของปรีแอมป์เพิ่มอย่างช้าๆ และค่อยๆลดปุ่มควบคุมความไวอินพุทของอุปกรณ์ตัวถัดไปลงอย่างช้าๆให้สัมพันธ์กัน (ส่วนใหญ่อุปกรณ์ตัวสุดท้ายจะเป็นพาวเวอร์แอมป์) มาถึงขั้นตอนนี้เชื่อว่าต้องมีเสียงจากแหล่งกำเนิดออกมาให้ได้ยินแล้ว ให้ฟังเสียงเพลงที่เล่นอยู่เมื่อเริ่มรู้สึกได้ว่าเสียงนั้นมีความเพี้ยนหรือแตกพร่าเกิดขึ้น ก็ให้ลดระดับที่ขาเข้า (โวลท์เตจ???าคอินพุท) ของปรีแอมป์ลงช้าๆจนเสียงเสียงเป็นปกติ
*** หากอุปกรณ์เครื่องเสียงในระบบไม่มีปุ่มปรับความไวอินพุทแสดงว่าอุปกรณ์นั้น สัญญาณขาออกมีค่าเท่ากับระดับสัญญาณขาเข้า เรียกกันว่า Unity - Gain - Design
11. ให้ทำวิธีเดียวกันกับข้อ 10 กับอุปกรณ์ที่เหลืออยู่ทุกตัวในระบบ
12. ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการปรับแต่งความไวอินพุทของเพาเวอร์แอมป์ ซึ่งให้ค่อยๆเพิ่มระดับอย่างช้าๆจนได้ยินเสียงเพลงนั้นเริ่มพร่าเพี้ยนจึงลดลงจนได้ยินเสียงที่เป็นปกติ
*** ข้อแนะนำ : ในการปรับ Gain ความไวอินพุทอุปกรณ์ตัวสุดท้ายนั้นอาจไม่ต้องทำการเปิด Gain ความไวอินพุทเลยก็ได้ หากสัญญาณอุปกรณ์ตัวก่อนหน้ามีความแรงพอหรือเพาเวอร์แอมป์มีความแรงพอ นั่นจะเป็นการตอบสนองความถี่ที่สมบูรณ์ หากไม่ได้ทำการเปิดหรือเปิด Gain ความไวอินพุท หรือเปิดแค่เล็กน้อย  ซึ่งจะเป็นผลดีของ Matching Impedence ยกเว้นในกรณีที่ความแรงสัญญาณไม่พอจึงค่อยเปิด Gain ความไวอินพุทเพาเวอร์แอมป์เพิ่ม แล้วจึงค่อยไปต่อในขั้นตอนการปรับแต่งเสียงตามที่ต้องการ
*** การปรับแต่งเสียงแนะนำให้เริ่มทำการปรับที่ลำโพงเสียงกลางก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากเสียงกลางหรือเพาเวอร์แอมป์ที่ขับเสียงกลางนั้นเป็นช่วงที่มีความถี่ที่กว้างที่สุด จากนั้นก็เป็นลำโพงเสียงแหลม และตามด้วยซับวูฟเฟอร์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


* IMG_0626.JPG (807.78 KB, 1200x1065 - ดู 1709 ครั้ง.)

* IMG_0627.JPG (464.85 KB, 1200x900 - ดู 1566 ครั้ง.)

* IMG_0628.JPG (458.29 KB, 1200x1102 - ดู 1550 ครั้ง.)

* IMG_0636.JPG (422.62 KB, 1200x900 - ดู 1569 ครั้ง.)

* IMG_0626.JPG (807.78 KB, 1200x1065 - ดู 1523 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

งานมากก็เบื่อ..งานเหลือก็เกลียด...งานระเอียดก็งง....บอกตรงๆ ก็คือขี้เกรียจ....!!!
minikung
นักแข่งมือสมัครเล่น
***

จิตพิสัย 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 103



เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2013, 12:43:36 am »

kd-r445 ใช้ขับ สี่นิ้ว+6x9 ได้สบายครับ เพิ่ม zulex 12" ได้เลย ครับ ลากสายแบต+มาเส้นนึง กะสายรีโมทหลัง jvcมา ส่วน- ลงตัวถัง

ไม่ต้องเพิ่มปรี เพาวเวอ

เสียงดีกว่าเดิมแน่ มีตึ๊บๆ  ตามงบครับ



 

ครับขอบคุณครับ ลงไว้พอฟังก่อน ต้องหมดค่าทำรถอีกเยอะ ^ ^


ขออณุญาติเจ้าของกระทู้ ออกความเห็น และให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเครื่องเสียง( คิดว่าน่าจะเป็นอุปกรณ์แต่งรถที่ดูดเงินมากที่สุดในบรรดาของแต่งรถสุดที่รักสำหรับใครบางคนนะ) ที่ผมพอจะมีนะครับ
  พูดถึงการติดตั้งเครื่องเสียง ถ้าจะร่ายจริงๆมียาวแน่ๆครับ นี่ขนาดไม่ร่ายจริงๆ ผมคิดว่าก็ยังจะยาวเลยนะเนี่ย ทนๆอ่านหน่อยแล้วกันนะครับ อิๆ
จากประสพการ(อันน้อยนิด ของผม) พอดีกับผมทำงานศูนย์โตโยต้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2538 มาจนถึงปัจจุบัน (ทีแรกเป็นหัวหน้าช่างและครูฝึกช่างเทคนิค แต่ตอนนี้เป็นพนักงานประเมิณของชัวร์) ได้เห็นทั้งลูกค้าที่มาซ่อม ที่มาขายรถเก่า หรือที่มาออกรถใหม่ จะมือสองหรือป้ายแดง อีกทั้งเพื่อนที่ทำงานในศูนย์ด้วยกัน อยากที่จะติดเครื่องเสียงบ้าง หรือนำไปติดกับร้านที่รู้จักหรือไม่รู้จักบ้าง สุดท้ายซึ่งเป็นส่วนใหญ่มักจะไม่จบ ส่วนที่จบก็จะต้องใช้งบค่อนข้างเยอะ ที่กล่าวมาก็รวมถึงตัวผมด้วย หึๆ สุดท้ายผมก็มาเข้าใจด้วยตนเอง(เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป อาจจะต้องใช้วิจรณญาณ ในการรับฟัง เด็กที่อายุต่ำกว่า13 ... จะออกนอกเรื่องลงทะเลไปแร๊ะ) เข้าเรื่องดีกว่า....
 หลักของความต้องการ (สำหรับผม) ที่อยากจะติดเครื่องเสียงเพิ่ม จึงเป็นดังนี้
 1.ให้นึกถึงความต้องการก่อนว่า ต้องการงานออกมาในรูปแบบหรือลักษณะไหน เช่น งานซาวด์ แผงสวย แสงสีอรังการอยากติดเพื่อไว้โชว์ หรือบอกศักย???าพว่าเงินเรามีเงินเหลือบานตะไทขนาดไหน หรือจะเอาแค่เสียงตึ้บ แต่ไม่เน้นแผงซาวด์ที่บ่งบอกถึงสำนักที่ติดตั้งให้
   แต่ ทว่า ไม่ว่าจะต้องการเช่นไหนก็ตาม ถ้ามันจบได้แบบที่เราพอใจ ก็ถือว่าโอเครเป็นใช้ได้
 2. งบที่ตั้งไว้ ข้อนี้สำหรับผมถือว่าน่าจะสำคัญสุด เพราะน้อยมากที่จะเห็นว่าเจ้าของจะได้เสียงที่พอใจแบบสุดติ่งในงบที่ไม่ถึงที่ตนตั้งไว้ (แต่ ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะสำหรับผมก็เกือบจะเข้าข่าย  แต่มันต้องทำเองเนี่ยดิ่) เพราะทีแรก ผมเองก็แทบไม่เป็นหรือไม่รู้เรื่องในระบบเครื่องเสียงเลยเช่นกัน แต่สุดท้ายในปัจจุบันก็จบเองได้แบบทำเองทั้งคัน แลกกับการลองผิดลองถูกไปหลายครั้ง แต่อย่าลืมว่าผมเป็นพนักงานรับซื้อรถเก่า เลยถือว่าโชคดีไป อาศัยถอดอุปกรณ์กับรถที่นำเข้ามาขายนั่นแหล่ะ 555 มิใช่ขโมยน๊าาา รึใช่หว่า..!!!??? (แต่ก็ต้องมียัดใต้โ็ต๊ะไปกันบ้าง) ของที่มีในระบบของผมจึงเป็นมือสองซะส่วนใหญ่
   ทุกวันนี้สำหรับรถบางคันที่ไปจ้างร้านทำโดยหมดงบกับระบบเครื่องเสียงหลักหมื่นกลางถึงสองหมื่นอัพ(เคยท้าเปิดแข่งกัน ซึ่งจริงๆผมควรจะกลัวตนเองหน้าแตก แต่ที่ไม่กลัวเพราะคิดว่ายังไงก็คงสู้เขาไม่ได้อยู่แล้วเพราะเรามันแค่มือสมัครเล่นทำเองแบบปูๆปลา แต่เอาวะยังไงเราก็ต้องซื้อกินอยู่แล้วไอ้น้ำฟองๆเนี่ย ผลสุดท้ายกับหลายๆคนและหลายๆคัน ผมก็กินได้กินเบียร์ฟรีเขามาแล้ว นี๊..!!! คุยซะเลย55 แต่ที่สู้ไม่ได้แบบรู้ตัวเองตั้งแต่หัวกระได คือเรื่องแผงซาวด์สวยๆเนี่ยแหล่ะ   
   สรุป งบ คือเรื่องสำคัญ ไม่อยากหมดเยอะหรือให้บานปลาย ก็แค่ให้ศึกษาเบื้องต้นให้พอรู้เรื่องในระบบเครื่องเสียงที่จะทำกับรถตนเองบ้างเล็กน้อยก็ยังดี
 3. ต้องการให้ดังมากแค่ไหนถึงจะเป็นที่พอใจของตน (ข้อนี้ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขข้อ2 ด้วย) เน้นฟังเพลงตอนไหน ตอนขับรถ ตอนเมา ฯลฯ และชอบฟังเพลงแนวไหนเป็นหลัก เช่น ลูกทุ่ง หรือแดนซ์
 4. อุปกรณ์ที่เลือกใช้ (ข้อนี้ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขข้อ2 ด้วยเช่นกัน) ต้องเน้นของแบนด์เนมมั้ย ในระบบจะใช้อะไรบ้างที่จำเป็น
  ทั้ง4ข้อที่กล่าวมาจึงเป็นโจทย์ที่ผมนำมาประมาล  อ้อ..!! อีกอย่าง เหตุที่มันไม่ค่อยจะจบกันง่ายๆอีกประการ คือ ถ้าไปเปิดเทียบกับคนอื่นแล้วเสียงเขาดีกว่า ยิ่งถ้ารู้ว่าเขาใช้งบน้อยกว่าเราด้วย ปวดใจ เจ็บแปลบ อิจฉา อยากได้ ฯลฯ สรุป เอาที่เราพอใจเป็นใช้ได้(สำหรับผม)

  กลับมาเข้าเรื่อง คำถามของเจ้าของกระทู้อีกครั้งนะครับ

 " ตอนนี้ผมใส่ ฟร้อน JVC KD-R445 ครับ กับลำโพงหน้า4นิ้วเดิมติดรถ

เพิ่งจะได้ลำโพงหลัง 6x9 PIONEER TS-A6964S มา2ตัวครับยังไม่ได้ใส่เพราะรถทำสีอยู่

และก็กะจะใส่ตู้ Zulex12"(มีแอมป์ในตัว) ไว้หลังรถจะโอเคมั้ยครับ

อยากจะถามว่า ฟร้อนมันขับลำโพง Pioneer ไหวมั้ยครับ เห็นหน้ากล่องลำโพงมันเขียน Max400watt
แล้วถ้าไม่ไหวนี่ผมจะต้องติดอะไรยังไงบ้าง เท่าที่ดูมาคร่าวๆ จะต้องติด ปรี กับ พาวเวอร์แอมป์(ต้องซื้อกี่watt ซื้อเกินWattลำโพงมาใช้เป็นอ่ะไรหรือป่าวครับ เห็นเค้าเขียนขับ1000Watt x2 x4อะไรอย่างงี้อ่ะครับ) แล้วเห็นเค้ามีฟิว์เป็นกล่องๆนี่เราต้องติดไว้ช่วงไหนและจำเป็นต้องติดไหมครับ
"

ก็ให้กลับไปดูในข้อ2. ประกอบการตัดสินใจด้วยครับ
 - ฟร้อน JVC KD-R445 ขับลำโพงเดิมที่ท่านมีไหวแน่นอน ถึงจะแค่เปลี่ยนคู่หลังเป็น 6x9 PIONEER TS-A6964S ก็ตาม ต่อแบบ ไฮพาวเวอร์หรือแบบฟูลเรงก์สบายๆ (ถ้าหากยังไม่ต้องการเพิ่มงบในส่วนของเพาเวอร์แอมป์ หรือ อุปกรณ์ปรับเสียงจำพวกปรีหรือครอสส)
 - และก็กะจะใส่ตู้ Zulex12"(มีแอมป์ในตัว) ไว้หลังรถจะโอเคมั้ยครับ ขอตอบว่า ตึ้บขึ้นมา(อีกระดับหนึ่ง) แน่นอน อยู่ที่การวางหรือเดินสายไฟ การหันตู้หรือหน้าดอกและการจูนความถี่ด้วย

สุดท้ายก็ขอสรุปสั้นๆ(แบบความคิดผมเอง อีกแย๊ว) ถ้าท่านฟังแล้วพอใจและเพียงพอ ก็ถือว่า งานจบสวยครับผม

เด๋วถ้าผมว่าง ผมก็อาจจะอณุญาติพี่ๆและสมาชิกทุกท่าน มาแชร์ข้อมูล ที่ผมพอจะมี(ส่วนมากก็จะหาจากเว็บต่างๆ) แล้วนำมาเรียบเรียงให้ตนเองเข้าใจ เพิ่มอีกกับกระทู้นี้ในวันหน้านะครับ ส่วนด้านล่างต่อจากนี้ ก็เป็นข้อมูลที่พอจะจำได้ หรือมีอยู่คร่าวๆ กับอุปกรณ์ที่ทำในระบบรถตนเอง ชอบคุณครับ

ชื่อเรียกและหน้าที่ของปุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในพาวเวอร์และอุปกรณ์เครื่องเสียงรถยนต์ทั่วๆไป

1. Gain / sensitivity มีไว้ปรับความไวสัญญานขาเข้าและขยายสัญญาณของอุปกรณ์ที่อยู่ก่อนหน้าเพื่อให้ระดับความแรงของสัญญาณที่ส่งเข้ามานั้นทำงานสอดคล้องเหมาะสมกัน หากปรับเยอะเสียงจะดังขึ้นก็จริงแต่จะเพี้ยน เสียงแหลมจะจัดเกินจะออกบี้ๆ  วิธีปรับให้ถูกต้องให้ศึกษาจากการทำ Level Matching ในหัวข้อถัดไป
2. HPF (High pass filter) มีไว้ปรับให้แอมป์ขับแต่ความถี่เสียงกลาง-แหลม (ยอมให้ค่าที่สูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ผ่านได้ ) ต้องกาคุณ???าพแนะนำลองตั้งประมาณ 80 Hz ดูก่อน
3. LPF (Low pass filter) (sedona SA-1200D ระบุไว้ที่ 35 to 250Hz-24dB) มีไว้ปรับให้แอมป์ขับแต่เสียงต่ำ (ยอมให้ความถี่ที่ต่ำกว่าจนถึงค่าที่ตั้งไว้ผ่านไปสู้ลำโพง ส่วนความถี่ที่สูงกว่าจะถูกกรองทิ้งไป)
4. Sub Sonic Filter (sedona SA-1200D ระบุไว้ที่ 10Hz to 50Hz-24dB) ทำหน้าที่เป็นตัวกรองหรือตัดความถี่ที่ไม่ต้องการออก (ยอมให้ความถี่ที่สูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ผ่านได้ แม้หน้าที่จะดูสวนทางกับ LPF แต่ก็มีไว้ใช้ปรับเพื่อให้ทำงานสัมพันธ์กัน) จะตัดความถี่ต่ำที่หูมนุษย์ไม่ได้ยินประมาณต่ำกว่า 20-30 เฮิรตซ์ลงไป ปรับเพื่อซับเสียงประเ???ทเสียงต่ำลึกๆ เช่นเสียงคลางของซับ ส่วนวิธีการการใช้งานจะหมุนตามหรือทวนเข็มนาฬิกาขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจรของแอมป์ว่ามีไว้ตัดหรือเพิ่มความดัง) สังเกตุจากตัวอักษรหรือตัวเลขที่กำหนดไว้ที่ปุ่ม ในตำแหน่งหมุนทวนเข็มนาฬิกาสุดถ้ามีคำว่า Off หรือ Closs หรือเลข 0 นั่นคือการปิดหรือตัดการทำงาน แต่ถ้าเป็นตัวเลขและมีหน่วยเป็น(Hz) จะเป็นการกำหนดให้เริ่มกรองหรือตัดความถี่ที่ค่าตามตัวเลขที่กำหนดไว้ ในแบบหลังนี้ถ้าต้องการจะปิดการใช้งานก็ให้หมุนไปด้านขวาสุด(ค่าสูงสุด)
***  แนะนำ : หากลองตัด(ปิด) ความถี่ที่ต่ำกว่า 50Hz ออกไปจะส่งผลให้พาวเวอร์แอมป์ทำงานได้เต็มประสิทธิ???าพมากขึ้น ส่วนข้อดีในการปรับคือจะลดเสียงบวมๆของซับลงไปได้มากในกรณีคุณ???าพดอกซับไม่ดีหรือตู้ไม่ได้ปริมาตรหรือแอมป์ขับไม่ไหว แต่ถ้าทุกอย่างลงตัวดีอยู่แล้วก็ไม่ควรใช้เพราะจะทำให้น้ำหนักของเสียงทุ้มนั้นลึกลงเกินไปยิ่งกับลำโพงที่ต่อกันเพื่อโหลดให้ได้ 1 โอห์ม จะทำให้ค่าแดมปิ้งแฟคเตอร์ของเพาเวอร์แอมป์ที่เป็นส่วนหนึ่งในการหยุดการสั่นค้างของลำโพงทำงานด้อยลงไปด้วย
5. X-over (On-Off) ทำหน้าที่เหมือน Crossover นั่นเอง (Sedona-SB495 4แชลแนล ระบุไว้ที่ 50 - 500Hz) มีหน้าที่ตัดย่านความถี่ของเสียงให้เที่ยงตรงที่สุด ใช้ปรับกรองสัญญาณความถี่ในย่านที่ตั้งไว้ให้แรงขึ้น (ยอมให้ความถี่ที่ต่ำกว่าถึงค่าที่ตั้งไว้ผ่านได้)  จริงแล้ว X-over มีความสำคัญกว่า Pre-Amp มาก เพราะถ้าเครื่องเล่นที่ใช้ไม่มีจุดตัดสัญญาณในตัว ย่านความถี่ของเสียงจะออกมาปะปนไม่ได้ถูกแยกอย่างถูกต้อง ถ้าต้องการให้นุ่มลองตัดที่ประมาณ 80 ลงมา ถ้าต้องการเสียงแหลมก็ลองตัดไว้ที่ประมาณ 100 - 125 Hz เป็นต้น สังเกตที่ X-over จะมีตัวเลขกำหนดว่าต้องการจะตัดให้สัญญาณแรงขึ้นในระดับใดลงมา
*** ส่วนใหญ่ถ้าต้องการให้ออกกลางแหลมมักตัดประมาณ 70-120 แล้วแต่ขนาดและชนิดลำโพงที่ใช้ ยิ่งตัดสูงเสียงร้องจะยิ่งชัดแต่ก็ต้องแลกกับเสียงหนักแน่นที่หายไป ถ้าตัดต่ำเกินเสียงจะจมไม่ลอย กลางจะออกไม่ใส ถ้าต้องการให้ bass upfront ควรตัดคู่หน้าให้ต่ำเพื่อเอาเสียงเบสจากกลางแหลมคู่หน้ามามาหลอกหูว่าเบสอยู่ด้านหน้า จากนั้นก็ปรับซับตามเพื่อให้เบสมีน้ำหนักขึ้น
6. Phase (0-180 องศา) ใช้เลือกย่านความถี่เพื่อปรับเฟสของลำโพง (ทิศของเสียงที่อัด) ให้เหมาะสม มักใช้เวลาลิ้งค์กับคันอื่นที่ติดลำโพงคนละเฟสกับเรา หากจะลองปรับถ้าฟังเป็นก็ไม่ยากเพราะจะสามารถจับได้ทันทีว่าสัญญาณที่ออกจากลำโพงนั้นกลับเฟสหรือไม่ ฟังง่ายๆคือเสียงทุ้มถ้ากลับเฟสระหว่างซ้ายและขวาเสียงเบสจะแห้งหายสาเหตุจากเฟสถูกคลื่นหักล้างกัน แต่ถ้าถูกเฟส(อินเฟส)เบสก็จะดังชัดเจน ที่เห็นเกิดบ่อยๆคือต่อสายลำโพงสลับขั้ว ถ้าสับสวิทช์สลับเฟสก็เหมือนกับสลับสายลำโพง(ถ้าสามารถปรับเฟสไล่ระดับหาทิศทางของเสียงตั้งแต่จุดเริ่มไปถึงจุดที่ตกตั้งแต่ 0ถึง180เลยจะเยี่ยมมาก)
7. BASS boost (Frequency 30Hz-80Hz) ใช้สำหรับเลือก Boost(ปรับเพิ่ม)ย่านความถี่ที่ต้องการเพื่อเป็นการชดเชยส???าพทางอคูสติกหรือแก้ไขทางเฟสที่อาจล้ำเกินไป อยากได้เบสหนักก็หมุนปรับไปทางตัวเลขมาก
8. BASS boost (Sedona SA-1200D มีค่าตั้งแต่ 0-18dB) (Sedona4แชลแนล ค่า 0 - 6dB) ทำงานสัมพันธ์กันกับ Bass Boost Frequency เพื่อใช้ลด-เพิ่มระดับความดังของความถี่ที่ตั้งไว้ ณ ความถี่หนึ่ง เช่นตั้ง BASS boost Frequencyไว้ที่ 45Hz (เฮิรตซ์) เมื่อเสียงมีความถี่หรือระดับสัญญาณในระดับ 45Hz ก็จะบู๊ทช่วยให้เสียงทุ้มเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มได้กี่ dB นั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
*** แนะนำ : ตั้งไว้ที่ 0dB ก่อน หากจำเป็นให้ปรับพอประมาณแต่ไม่ควรเกิน 6 dB ไม่ควรปรับเพิ่มมากไปเพราะจะทำให้เสียงเบลอ
9. BOOST BASS (เบสช่วย) ใช้ปรับเพื่อให้บู๊ทความถี่ที่ตั้งไว้ใน X-over เพื่อให้ได้ลูกเบสกว้างและลอยไกลๆ ระวังอย่าปรับให้มากเพราะเสียงเบสจะรัวไม่เป็นลูก หากชอบหนักๆก็ให้ปรับ LPF เพิ่มขึ้นอีกหน่อยให้ได้ความถี่ซัก 80HZ-100HZ โดยประมาณหากสูงมากเสียงเบสก็จะแข็งเกินไป
10. BRIDGE MONO หมายถึงการให้ต่อช่องสัญญาณเอาท์พุทของลำโพงจาก 2 แชนแนลพ่วงเป็น 1 แชนแนลเพื่อให้พาวเวอร์ปล่อยกำลังขับหรือวัตต์เพิ่มขึ้น(พาวเวอร์แอมป์ขับซับแบบ 2 Ch ถ้าต่อพ่วงลำโพงเพื่อโหลดค่าโอห์มให้ลงที่ 1 โอห์ม พาวเวอร์แอมป์ก็เห็นต่ำสุดแค่ 2 โอห์มเท่านั้น) ส่านพาวเวอร์แอมป์คลาสดีที่ระบุไว้ว่าเป็น MONO (หมายถึงไม่มีการแยกสัญญาณเสียงซ้ายขวาอิสระจากกัน) แต่ที่เห็นมีสายไฟของชุดลำโพงออก 2ชุด (++--) ถึงแม้จะต่อออกครบ 2ชุด มันก็ออกเป็นชุดเดียว เพราะมันเชื่อมต่อกัน ที่ทำไว้เพื่อความสะดวกในการต่อสายลำโพงก็เท่านั้น
11.ปุ่มปรับ Freq.ที่ปรี มีหน้าที่ตั้งความถี่ไว้แล้วตัว Gain Volume จะทำการเร่งในจุดนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การทำ เลเวล-แมทชิ่ง (Level Matching) คือการทำเพื่อให้ได้ค่า (S/N) Signal to Noise Ratio สูงสุด มีหน่วยเป็น dB
   
 การทำ เลเวล-แมทชิ่ง เป็นเพียงการปรับเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องเสียงในระบบเกิดการ Clip หรือเกิดความเพี้ยนขึ้นมาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการปรับเพื่อให้ได้เสียงดีที่สุดแต่อย่างใด เป็นเพียงการเอาใจใส่ในเรื่องของการปรับระดับโวลท์เตทของสัญญาณขาเข้า(อินพุท) และขาออก(เอ้าท์พุท) ของอุปกรณ์แต่ละชิ้นให้เหมาะสมเพื่อทำให้ระดับของเสียงเพลงมากกว่าระดับของเสียงสัญาณรบกวน ซึ่งในบทความนี้ในการทดสอบจะกำหนดโดยการใช้หู กับแผ่นเสียงทดสอบในเครื่องเล่น ซึ่งมีขั้นตอนปฎิบัติดังต่อไปนี้
1. ให้ศึกษาข้อมูลรายละเอียดของอุปกรณ์ที่มีใช้ในระบบทุกชิ้นของตนให้เข้าใจเสียก่อน สามารถหาดูได้จากคู่มือที่มาพร้อมกับอุปกรณ์นั่นเอง
2. ให้ทำการเช็คเฟสของลำโพงทั้งหมดก่อน แล้วปรับความดัง (Volume) ของเครื่องเล่น (Head Unit) ไปที่จุดต่ำสุด และให้ปรับฟังค์ชั่นปรับแต่งเสียง (EQ) ทุกอย่างของ Fonte เช่น Bass, Treble, Balance และ Fader อยู่ในตำแหน่ง Flat ซึ่งหมายถึงย่านเสียงที่ไม่ได้รับการปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น เพื่อให้ได้เสียงที่เป็นธรรมชาติ (ถ้าที่ Fonte มี HPF ให้ปรับให้ปรับเป็น off ด้วย)
3. ถ้ามีปรีแอมป์ในระบบให้ปรับปุ่มควบคุมความไวอินพุทไว้ที่ระดับต่ำสุด(Min) จากนั้นให้ปรับปุ่มควบคุมความดังปรีแอมป์ให้อยู่ที่จุดต่ำสุดด้วย
4. ถ้ามีอีควอไลเซอร์ในระบบให้ปรับปุ่มควบคุมความไวอินพุทให้อยู่ที่ระดับต่ำสุด(Min) และตั้งปุ่มลด-เพิ่มความถี่ในทุกๆย่านให้อยู่ในระดับสูงสุด(Max)
5. ถ้ามีอีเล็คโทรนิคครอสโอเวอร์อยู่ในระบบให้ปรับปุ่มควบคุมความไวอินพุทอยู่ที่ระดับต่ำสุด(Min)
6. ให้ปรับระดับสัญญาณขาออก(Output) ของอุปกรณ์ในข้อ 4,5 (ถ้ามี)ไว้ที่ระดับ 3 ใน 4 ของระดับสูงสุด (ประมาณ75% ถ้าประมาณไม่ถูกให้ดูสูตรจากข้อ8)
7. ให้ปรับปุ่มควบคุมความไวอินพุทของเพาเวอร์แอมป์ไว้ที่ระดับต่ำสุด(Min)
*** ขั้นตอนที่ 1-7 ให้ทำในขณะที่ระบบเสียงปิดอยู่
8. ให้เริ่มเปิดระบบเสียง แนะนำให้เลือกเล่นเพลงที่คุ้นเคยหรือใช้แผ่นซีดีในการแข่งขันก็ได้ โดยเพิ่มระดับความดังที่ Fonte ไว้ที่ระดับ 3 ใน 4 ประมาณ 75% ของความดังสูงสุดหรือหาคำนวนได้จากสูตร ค่าของระดับความดังสูงสุด คูณด้วย 0.8 ก็จะได้ค่าไว้เพื่อปรับออกมา แล้วจึงปรับให้เท่าหรือต่ำกว่าค่าที่ได้นิดหน่อย เช่นความดังสูงสุดของวอลลุ่มอยู่ที่ 62 ก็ให้ปรับไว้ที่ 47 (ไม่ต้องกังวลเรื่องไม่ได้ยินเสียงเพลง) เปิดวอร์มอุปกรณ์ทิ้งไว้สักประมาณ 15 นาทีเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมของระบบแล้วค่อยดำเนินการในขั้นตอนต่อไป.....
9. ให้เริ่มทำการปรับปุ่มควบคุมโวลท์เตจ???าคอินพุทของอุปกรณ์ที่มีอยู่ในระบบตัวถัดไป เช่น ปรีแอมป์,ครอส, ถ้าอุปกรณ์ตัวใดไม่มีก็ข้ามไปที่อุปกรณ์ตัวที่อยู่ถัดไปให้อยู่ตรงตำแหน่งกึ่งกลาง และปรับ Gain (Output Level)ระดับสัญญาณขาออกของอุปกรณ์ทุกตัวไปที่ตำแหน่งกึ่งกลางด้วยเช่นกัน
10. ถ้ามีปรีแอมป์ ให้ปรับระดับความดังเสียงไว้ที่ 3 ใน 4 (ประมาณ75%) ของความดังสูงสุดก่อน แล้วค่อยๆปรับปุ่มความไวอินพุทของปรีแอมป์เพิ่มอย่างช้าๆ และค่อยๆลดปุ่มควบคุมความไวอินพุทของอุปกรณ์ตัวถัดไปลงอย่างช้าๆให้สัมพันธ์กัน (ส่วนใหญ่อุปกรณ์ตัวสุดท้ายจะเป็นพาวเวอร์แอมป์) มาถึงขั้นตอนนี้เชื่อว่าต้องมีเสียงจากแหล่งกำเนิดออกมาให้ได้ยินแล้ว ให้ฟังเสียงเพลงที่เล่นอยู่เมื่อเริ่มรู้สึกได้ว่าเสียงนั้นมีความเพี้ยนหรือแตกพร่าเกิดขึ้น ก็ให้ลดระดับที่ขาเข้า (โวลท์เตจ???าคอินพุท) ของปรีแอมป์ลงช้าๆจนเสียงเสียงเป็นปกติ
*** หากอุปกรณ์เครื่องเสียงในระบบไม่มีปุ่มปรับความไวอินพุทแสดงว่าอุปกรณ์นั้น สัญญาณขาออกมีค่าเท่ากับระดับสัญญาณขาเข้า เรียกกันว่า Unity - Gain - Design
11. ให้ทำวิธีเดียวกันกับข้อ 10 กับอุปกรณ์ที่เหลืออยู่ทุกตัวในระบบ
12. ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการปรับแต่งความไวอินพุทของเพาเวอร์แอมป์ ซึ่งให้ค่อยๆเพิ่มระดับอย่างช้าๆจนได้ยินเสียงเพลงนั้นเริ่มพร่าเพี้ยนจึงลดลงจนได้ยินเสียงที่เป็นปกติ
*** ข้อแนะนำ : ในการปรับ Gain ความไวอินพุทอุปกรณ์ตัวสุดท้ายนั้นอาจไม่ต้องทำการเปิด Gain ความไวอินพุทเลยก็ได้ หากสัญญาณอุปกรณ์ตัวก่อนหน้ามีความแรงพอหรือเพาเวอร์แอมป์มีความแรงพอ นั่นจะเป็นการตอบสนองความถี่ที่สมบูรณ์ หากไม่ได้ทำการเปิดหรือเปิด Gain ความไวอินพุท หรือเปิดแค่เล็กน้อย  ซึ่งจะเป็นผลดีของ Matching Impedence ยกเว้นในกรณีที่ความแรงสัญญาณไม่พอจึงค่อยเปิด Gain ความไวอินพุทเพาเวอร์แอมป์เพิ่ม แล้วจึงค่อยไปต่อในขั้นตอนการปรับแต่งเสียงตามที่ต้องการ
*** การปรับแต่งเสียงแนะนำให้เริ่มทำการปรับที่ลำโพงเสียงกลางก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากเสียงกลางหรือเพาเวอร์แอมป์ที่ขับเสียงกลางนั้นเป็นช่วงที่มีความถี่ที่กว้างที่สุด จากนั้นก็เป็นลำโพงเสียงแหลม และตามด้วยซับวูฟเฟอร์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณนะครับ ข้อมูลมาแน่นจนมึน555อ่านเสร็จแบบมีหลับตานวดขมับแป็ปนึง
บันทึกการเข้า

tapo
นักแข่งมืออาชีพ
****

จิตพิสัย 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 350


Lopburi Zone 081-8534197 เด ครับผม

818534197 deja1968@gmail.com
อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2013, 09:09:44 am »

เจนเขารู้จริง ผมได้6?9(JBL)จากเขามาคู่หนึ่ง เสียงประทับใจมากครับ   
บันทึกการเข้า

ความหวังลุกโชนขึ้นได้ด้วยประกายแห่งการหนุนน้ำใจ
minikung
นักแข่งมือสมัครเล่น
***

จิตพิสัย 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 103



เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2013, 05:13:02 pm »

ครับ ไปหาข้อมูลมาเพิ่มอีกนิดนึง+กันข้อมูลคุณเจน เห็นเค้าแนะนำกันว่าถ้าเป็นรถเก๋ง หาbass box ที่ใส่ใต้เบาะได้ จะให้ผมดีกว่าที่อยู่หลังรถ แล้วมีรุ่นแนะนำมั้ยครับที่ราคาใกล้เคียงกับzulexและเสียงดีหน่อยในราคาของมัน
บันทึกการเข้า

janejadhai
นักแข่งมือสมัครเล่น
***

จิตพิสัย 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 159


รับซื้อรถยนต์4ล้อขึ้นไป ทุกชนิด 081-3834533

janejadhai2door@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2013, 01:05:29 am »

bass box ถ้าปรับเสียงกลางกับสูงจนไม่กลบเบส ทำให้ออกหมด ปรับด้วยฟังค์ชั่นของฟร้อนต์เองฝ(จำพวกเพลงลูกทุ่ง) แล้วมาปรับจูน LPF กับ SUB SONIC(ถ้ามี) ที่เบสบ๊อกให้ไม่กลบกลางกับทวีตเตอร์ ประมาณว่า เบสนำกระเดื่อง (อะธิบาบยังไงดีน๊อออ..!!) ก็ประมาณ ซิกๆๆซิบๆเตึมมมมมม ตึก ประมาณเนี๊ย คือต้องฟังเสียงร้องให้ชัดอ่ะครับ อธิบายยากจริงๆ ต้องฟังอ่ะ แต่บอกได้อย่างประสพการน้อยนิด(อีกแย้ว)เบสบ๊อก มันจะตึ้บแค่ใต้ตูดกับเต็มที่แค่ในห้องโดยสารเน้ออออ เอางี๊ท่านติดขัดตรงไหนโทรหาถามผมเลยดีกว่า 081-3834533 ครับท่าน ไปรวบรวบมาก่อนในระบบใช้อะไรบ้าง
 อ้อ ขอบคุณพี่เดมากครับที่มาร่วมด้วย หายไปเลยน๊าาา ติดหญิงที่ไหนป่าว บอกด้วย จะได้ไปติดด้วยคน ขอบคุณคร๊าบบบบ
บันทึกการเข้า

งานมากก็เบื่อ..งานเหลือก็เกลียด...งานระเอียดก็งง....บอกตรงๆ ก็คือขี้เกรียจ....!!!
minikung
นักแข่งมือสมัครเล่น
***

จิตพิสัย 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 103



เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2013, 06:44:51 pm »

ขอบคุณมากครับ เดี๋ยวรอประกอบรถกลับเป็นชิ่นเป็นอันทั้งหมดก่อน แล้วเดี๋ยวผมลองดู แล้วจะมาปรึกษาอีกทีครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: